ที่มาของ โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกหรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “พาราโบล่าโดม” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 “พาราโบล่าโดม” เป็นนวัตกรรมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ เรือนกระจกที่พัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ ดร.เสริม จันทร์ฉาย ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ พพ. โดยเป็นระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีความเหมาะสมในการทำแห้งผลิตผลทางการเกษตรในเชิงการค้าทั้งในระดับวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมไปจนถึงผู้ประกอบการขนาดใหญ่

ปัจจุบันหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน สำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศได้นำแบบโรงอบแห้งที่พัฒนามาจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน มาพัฒนาเป็นโครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด หรือโครงการพัฒนาจากแหล่งงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทั่วประเทศมีการใช้งานโรงอบแห้งแบบ “พาราโบล่าโดม” มีการขยายผลการใช้งานอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น



หลักการทำงาน

จากรูป หลักการทำงานคล้าย ๆ กับปรากฎการณ์เรือนกระจก
โดยจุดที่ 1 จะมีรังสีอาทิตย์หลากหลายความยาวคลื่น เมื่อเคลื่อนผ่านมายังหลังคาของโรงอบแห้งซึ่งทำจากแผ่นโพลีคาร์บอเนต จะมีการสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตออกไปในจุดที่ 2  แต่รังสีอาทิตย์คลื่นสั้นจะสามารถเคลื่อนที่เข้าสู่ภายในโรงเรือนได้ในจุดที่ 3 เกิดการกระทบและดูดกลืนกับวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่ภายในโรงอบแห้งในจุดที่ 4 ทำให้รังสีอาทิตย์คลื่นสั้นมีพลังงานลดลงกลายเป็นรังสีอาทิตย์คลื่นยาว และกลายเป็นรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟาเรด ซึ่งรังสีความร้อนดังกล่าวไม่สามารถเดินทางผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนต ออกมาสู่ภายนอกได้ในจุดที่ 5 ทำให้อากาศภายในร้อนขึ้นและถ่ายเทความร้อนไปยังผลิตภัณฑ์ในจุดที่ 6 ทำให้เกิดการระเหยของน้ำในตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่อากาศในจุดที่ 7 โดยอากาศชื้นจะมีพัดลมดูดอากาศช่วยในการระบายอากาศชื้นในจุดที่ 8 ซึ่งพัดลมดูดอากาศนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ในจุดที่ 9 และอากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้นต่ำจากภายนอกจะถูกดูดเข้าไปยังโรงอบแห้งแทนที่อากาศชื้นในจุดที่ 10

ส่วนประกอบและโครงสร้างของระบบโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ 

ประโยชน์ที่ได้รับ จากการใช้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

1. ลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว เพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์

2. ทุ่นเวลาในการตากแห้งน้อยลงเมื่อเทียบกับการตากแห้งตามธรรมชาติ เพราะในโรงอบมีความร้อนมากกว่า และมีพัดลมช่วยดูดึวามชื้นออกจากโรงอบ

3. ผลผลิตที่ตาก สะอาด ไม่มีฝุ่น ควัน แมลงวัน ลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ

4. ผลผลิตมีสีสันสวยงามโดยเฉพาะการอบกล้วย จะเนื้อนุ่ม และหวานกว่าการตากแห้งตามธรรมชาติ

5. ฝนตกก็ไม่ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ต้องรีบวิ่งเก็บเมื่อฝนตก ใช้แรงงานคนน้อย

6. ช่วยให้เกษตรกร หรือผู้มีสินค้าเกษตรในท้องถิ่น แปรรูปได้ง่ายขึ้น สะอาดขึ้น เพิ่มมูลค่าและรายได้ให้ท้องถิ่นหรือชุมชนของท่าน

7. ดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย และสะดวกในการใช้งาน

8. อายุการใช้งานนานเป็น 10 ปี ลงทุนครั้งเดียว ประหยัดต้นทุนเป็น 10 ปี

ข้อเสีย โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

1. ระยะเวลาในการอบแห้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในวันที่ทำการอบแห้ง

2. วัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้างมีราคาค่อนข้างสูง

ระบบโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกแบบ พพ. 3 ขนาด (6X8 ม. , 8X12 ม. , 8X20 ม. )

  1. ขนาดเล็กกว้าง 6.00 เมตร ยาว 8.20 เมตร สูง 3.25 เมตร (ระบบอบแห้ง พพ.1) 
  2. ขนาดกลางกว้าง 8.00 เมตร ยาว 12.40 เมตร สูง 3.35 เมตร (ระบบอบแห้ง พพ.2)
  3. ขนาดใหญ่กว้าง 8.00 เมตร ยาว 20.80 เมตร สูง 3.35 เมตร (ระบบอบแห้ง พพ.3) 

งานติดตั้งโรงอบแห้งสมุนไพร ขนาด พพ.2 (8×12.40 ม.) พร้อมระบบความร้อนเสริม Gas Burner System
สวนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ปตท. อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง