เทคโนโลยีอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ให้การสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานนี้ เป็นโรงอบแห้งที่ออกแบบรูปพาราโบลา

หลังคาทำจากวัสดุใสเป็นแผ่นโพลีคาร์บอเนตชนิดเคลือบสารป้องกันแสงยูวี ปิดบนหลังคาโครงโลหะที่ตั้งอยู่บนพื้นซีเมนต์ซึ่งการใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตในการทำหลังคาทำให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านได้ดี แต่รังสีความร้อนที่แผ่จากภายในโรงอบแห้งจะผ่านออกมาได้น้อย จึงทำให้เกิดผลเรือยกระจก (Green House Effect) ความร้อนส่วนใหญ่จึงถูกกักเก็บอยู่ภายในโรงอบ

นอกจากนี้แผ่นโพลีคาร์บอเนตยังเป็นฉนวนความร้อนที่ดี มีน้ำหนักเบา ดัดโค้งได้ง่าย อายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี โรงอบแห้งแบบนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก (Green house Solar dryer)” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “พาราโบลาโดม” และเพื่อระบายความชื้นหรือน้ำที่ระเหยออกจากผลิตภัณฑ์ที่ต้องการอบแห้งออกจากระบบ จึงมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ และมีช่องอากาศเข้าเพื่อให้อากาศไหลเข้าโรงอบทดแทนอากาศที่ถูกดูดออกไป โดยใช้พัดลมกระแสตรงและมีแผงโซลาเซลล์เพื่อให้กำลังไฟฟ้ากับพัดลม นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ทำลมความร้อนจากการเผาแก๊สเพื่อเป็นความร้อนเสริมสำหรับกรณีที่มีแสงแดดน้อยกว่าที่ต้องการ (เฉพาะ แบบโรงอบแห้ง พพ.3 เท่านั้น ตามมาตรฐานการออกแบบของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)

พลังงานแสงอาทิตย์ได้นำมาใช้เพื่อการตากแห้งเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันได้มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมอย่างแพร่หลาย อาทิ การตากแห้งกระเบื้องและกระจกสี อุตสาหกรรมที่ใช้ยาง อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการหล่อเหล็ก อุตสาหกรรมเภสัชกรรม โรงงานยาสูบ อุตสาหกรรมการแปรรูป และการถนอมอาหารเช่น ผลไม้ สมุนไพร เนื้อสัตว์ และพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น

ซึ่งการติดตั้งโรงอบแห้งโดยบริษัทฯ จะติดตั้งตามแบบมาตรฐานของ พพ. เนื่องจากมีการวิจัยและพัฒนาจนสามารถออกแบบขนาดที่เหมาะสม คุ้มค่าการผลิต และการทำงานเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้ มี 3 แบบดังนี้

แบบอบแห้ง พพ.1 ขนาด 6.00 x    8.20 ม.  มีถาดสำหรับตากผลิตภัณฑ์ จำนวน   24 ถาด
แบบอบแห้ง พพ.2 ขนาด 8.00 x  12.40 ม.  มีถาดสำหรับตากผลิตภัณฑ์ จำนวน   60 ถาด
แบบอบแห้ง พพ.3 ขนาด 8.00 x  20.80 ม.  มีถาดสำหรับตากผลิตภัณฑ์ จำนวน  108 ถาด (เฉพาะพพ.3 มีความร้อนเสริม )(ถาดสำหรับตากผลิตภัณฑ์มีขนาด 1 x 1 เมตร)

เป้าหมายหลักของเทคโนโลยีการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

  • เพื่อช่วยลดต้นทุน และลดปริมาณการใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไป
  • เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตสินค้าอบแห้ง สะอาดปลอดภัย
  • เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ฝุ่นควัน หรือสภาพอากาศ สภาพแวดล้อม
  • เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านนวัตกรรมและการอนุรักษ์พลังงาน
  • เพื่อสร้างความคุ่มค่าในระยะยาว ลดระยะเวลาการผลิต

การดูแลบำรุงรักษาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

แผ่นโพลีคาร์บอเนต

  • ควรทำความสะอาดแผ่นโพลีคาร์บอเนตอยู่เสมอโดยการใช้น้ำสะอาดฉีดพ่นทำความสะอาด 2 ครั้ง/เดือน เพื่อกำจัดฝุ่นละอองที่อาจจะมาบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อการรับแสงที่มีประสิทธิภาพ
  • กรณีพบรอยรั่วบริเวณแผ่นโพลีคาร์บอเนตเพื่อป้องกันน้ำฝนรั่วซึมเข้าโรงอบหรืออากาศเข้า ซ่อมแซมโดยใช้ซิลิโคนสีใสปิดป้องกันรอยรั่วดังกล่าว

ระบบพัดลมระบายอากาศ

  • ควรทำการตรวจสอบการทำงานให้เป็นปกติ หากมีเกิดอาการเสียควรรีบดำเนินการซ่อมแซม จะส่งผลต่อการกำจัดความชื้นออกจากตัวผลิตภัณฑ์ตากแห้ง

แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับพัดลมดูดอากาศ

  • ควรเช็ดทำความสะอาดเซลล์รับแสงอาทิตย์อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อจำกัดฝุ่นละอองที่จะมาบดบังแสงอาทิตย์ที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ควรทำความสะอาดช่วงเช้าตรู่ ก่อนเวลา 8.00 น. เพื่อให้การผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ภายในโรงอบและตะแกรงสำหรับตากผลิตภัณฑ์

  • ควรทำความสะอาดพื้นโรงอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรีย
  • ควรทำความสะอาดตะแกรงสำหรับตากผลิตภัณฑ์ทุกครั้งหลังจากการอบแห้งผลิตภัณฑ์แล้วเสร็จ เพื่อความสะอาด ลดการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรีย

ผลงานการติดตั้งโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ พพ.1 ขนาด 6.00 x 8.20 เมตร
ข้าวเกรียบไร่ภูผาสัก จังหวัดเลย

  
  

โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ พพ.1 ขนาด 6.00 x 8.20 เมตร
ติดตั้ง ณ บริษัท ขวัญฟ้า เทรดดิ้ง จำกัด  จังหวัดหนองคาย