ประเทศไทยมีสมุนไพรค่อนข้างมาก ทั้งในรูปแบบของสมุนไพรที่นํามาประกอบอาหาร สมุนไพรผสมเครื่องทํายาสมุนไพรใช้สด สมุนไพรแบบแห้ง แต่การใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาและป้องกันโรคนั้นแน่นอนว่าต้องใช้ในปริมาณเยอะมากกกและต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล การทําความรู้จักสมุนไพรและศึกษาคุณสมบัติให้ถ่องแท้อาจต้องใช้เวลานานไหนจะการนํามาปรุงรับประทานอีก คือ ยุ่งยากเกินไปหลายคนอาจล้มเลิกความตั้งใจได้ง่าย ผู้ประกอบการหลายรายจึงมองเห็นความเป็นไปได้ที่จะนําสมุนไพรมาให้บริโภคกันง่ายขึ้น รูปแบบยอดนิยมที่มักจะนํามาทํากันก็คือแปรรูปเป็นชาเพราะเราต้องดื่มน้ํากันตลอดทั้งวันอยู่แล้ว

ผักเชียงดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตําเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE) ผักเชียงดา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา เป็นต้น

ลักษณะของผักเชียงดา


ต้นผักเชียงดา จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลําต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ํายางสีขาวคล้ายน้ํานมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชํา เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ําดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาว เหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เพื่อนํายอดไปประกอบอาหาร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา

สรรพคุณของผักเชียงดา

– ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเกาต์

– ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทํางานของร่างกายให้เป็นปกติและชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย

– ช่วยทําให้เจริญอาหาร

– ช่วยชําระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย

– ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ําตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนําผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จากการศึกษาพบว่าการรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ําตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบําบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน

– ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ

– ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล

– ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบํารุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง

– ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบํารุงและปรับสภาพการทํางานของตับอ่อนให้เป็นปกติ

– มีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนํามาใช้เป็นยาก็ให้นําผักเชียงดามาสับแล้ว
นําไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนํามาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้

การแปรรูปเพิ่มค่าสินค้าเกษตรนั้นเพียงแค่การเปลี่ยนจากดื่มน้ําเปล่ามาเป็นดื่มน้ําชา นอกจากจะทําให้ร่างกายสดชื่นแล้วยังได้รับพลังในการป้องกันและรักษาโรคมาพร้อมกันด้วย ตัวอย่างเช่นแบรนด์มรรคา ได้มีการนําผักเชียงดามาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมดื่ม โดยพืชพื้นบ้านของภาคเหนือชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดี นิยมนํามาทําอาหารได้หลายอย่าง ยิ่งในฤดูฝนแบบนี้ยิ่งแทงยอดออกมามากซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารอร่อยแล้วยังมีสรรพคุณทางยาอย่างเต็มเปี่ยม โดยเฉพาะช่วยป้องกันและรักษาระดับน้ําตาลในเลือดเหมาะสําหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน หากเราต้องการให้ผักเชียงดาช่วยเรื่องเบาหวานอาจจะต้องกินในปริมาณเยอะมาก แต่ถ้าดื่มแบบชาหรือสกัดออกมาเป็นแคปซูลก็จะรับประทานง่ายกว่าร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เลยและจะดียิ่งขึ้นไปอีก